วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

สมาชิกในกลุ่ม3 ห้อง4/3

นาย  กิตติพงศ์   โตรอด           เลขที่ 3
นาย  นภพล       เลาวัฒนกุล    เลขที่ 13
นาย  ณัฐชนน    ตุลยวิศาล      เลขที่ 23
นางสาว  กัลยารัตน์  แปงเสน  เลขที่ 33
นางสาว  พนิตนันท์ เตชะนันท์ เลขที่ 43

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554

การจัดการฐานข้อมูล

       การจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS) คือ การบริหารแหล่งข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อตอบสนองต่อการใช้ของโปรแกรมประยุกต์อย่างมีประสิทธิภาพและลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล รวมทั้งความขัดแย้งของข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์การ
  
      ข้อดีของการจัดการฐานข้อมูล
 1 ลดความยุ่งยากของข้อมูลภายในองค์การโดยรวมข้อมูลไว้ที่จุดหนึ่งและผู้ควบคุมดูแลการใช้ข้อมูล การเข้าถึงข้อมูล การนำ   ข้อมูลไปใช้ประโยชน์และดูแลความปลอดภัย
2. ลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล (Redundancy) ในกรณีที่ข้อมูลอยู่เป็นเอกเทศ
3. ลดความสับสน (Confusion) ของข้อมูลภายในองค์การ
4. มีความยืดหยุ่นในการขยายฐานข้อมูล การปรับปรุงแก้ไขทำได้ง่ายกว่า
5. การเข้าถึงข้อมูลและความสะดวกในการใช้สารสนเทศมีเพิ่มขึ้น

ความต้องการใช้ข้อมูล

        ระบบฐานข้อมูลเป็นสิ่งที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการใช้งานประจำวัน การตัดสินใจของผู้บริหารจะกระทำได้รวดเร็ว ถ้ามีข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอ จึงมีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศดังกล่าว แต่การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีหลักการและวิธีการที่ทำให้ระบบมีระเบียบแบบแผนที่ดี

         การเก็บข้อมูลนั้นผู้จัดเก็บจำเป็นต้องทำการแยกแยะ และพยายามหาทางลดขนาดของข้อมูลให้สั้นที่สุด แต่ให้ได้ความหมายในตัวเองมากที่สุด โดยปกติข้อมูลที่ต้องการเก็บมีเป็นจำนวนมาก การเก็บข้อมูลจึงจำเป็นต้องแยกกลุ่มออกจากกัน แต่ข้อมูลระหว่างกลุ่มก็อาจจะมีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกันได้ ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มนี้เองเป็นส่วนที่ทำให้เกิดระบบฐานข้อมูล ซึ่งเป็นศาสตร์ที่จำเป็นต้องเข้าใจหลักการและวิธีการเพื่อให้เกิดการเก็บ เรียกหา ค้นหา หรือใช้งานข้อมูลได้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงมีการแยกกลุ่มข้อมูล โดยยึดหลักการพื้นฐานว่าข้อมูลแต่ละกลุ่มจะเป็นสิ่งที่มองเห็นหรือจับต้องได้ ข้อมูลแต่ละกลุ่มที่แยกนี้เรียกว่า เอนทิตี (entity) โดยข้อสนเทศของเอนทิตีจะสามารถแยกออกได้เป็นสองส่วน คือ เนื้อหาและข้อมูล

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

ลักษณะการจัดการสารสนเทศที่ดี

ลักษณะการจัดการสารสนเทศที่ดี คือ สารสนเทศต้องถูกต้องเม่นยำ เมื่อพิจารณาสารสนเทศแล้วต้องเข้าใจง่ายมีวิธีการรวบรวมข้อมูลที่น่าเชื่อถือ  จะต้องมีการจัดการเตรียมฐานข้อมูลและบริหารข้อมูล โดยจัดแบ่งแยก ปรับปรุงข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องหน้าที่หลักของผู้บริหารฐานข้อมูล จึงประกอบด้วยการจัดเก็บข้อมูล การติดต่อประสานงานกับแหล่งข้อมูลและที่มาของข้อมูล

  1. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม โดยกระจายอยู่ในหลาย ๆ แฟ้ม มักจะพบปัญหาของการปรับแก้ไขข้อมูล   มิฉะนั้นจะพบกับปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูล ซึ่งทำให้การบริหารข้อมูลทำได้ยากข้อมูลจึงควรได้รับการออกแบบและเก็บอยู่ในฐานข้อมูลที่ใดที่เดียว
  2. กำหนดมาตรฐานของข้อมูล การสร้างฐานข้อมูลจะต้องให้ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นมาตราฐาน กำหนดรหัสที่เป็นมาตราฐาน กำหนด keyword หรือค่าที่ใช้แทนข้อมูลอย่างเดียวกันเพื่อให้ได้ความหมายต่อการใช้งานที่ดี
  3. มีระบบป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลจำเป็นต้องจัดแบ่งระดับความสำคัญของข้อมูลเพื่อกำหนดผู้ใช้ มีการควบคุมข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บนั้นอาจมีความสำคัญ ดังนั้นการแก้ไขหรือปรับปรุงข้อมูลโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้นอาจทำให้ข้อมูลเสียหายได้
  4. มีความเป็นอิสระจากโปรแกรม  จะต้องเป็นระบบที่ข้อมูล และฐานข้อมูลมีความเป็นอิสระจากโปรแกรม ทำให้สามารถใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลใด ๆ จัดการฐานข้อมูลได้ ทำให้ข้อมูลใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกรูปแบบ
  5. รวมข้อมูลเป็นฐานข้อมูลกลาง  เมื่อก่อนมีการเก็บข้อมูลแยกเป็นแฟ้มกระจัดกระจาย แต่ในปัจจุบันสามารถรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันเป็นฐานข้อมูลกลางด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ระบบการทำงานใช้ข้อมูลร่วมกันได้

การแบ่งแฟ้มข้อมูล

การแบ่งประเภทแฟ้มข้อมูล สามารถแบ่งแยกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ แต่สามารถจำแนกได้ 8 ประเภท คือ
  1. แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File) - เก็บข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างถาวร และมักจะเรียงตามลำดับของ Primary Key
  2. แฟ้มรายการปรับปรุง (Transaction file) - บันทึกเหตุการณ์หรือความเปลี่ยนแปลงของแฟ้มข้อมูลหลัก เป็นรายการย่อยที่เกิดในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ที่เกิดจากการเพิ่มข้อมูล
  3. แฟ้มดัชนี (Index File)ใช้ชี้บอกตำแหน่งของข้อมูลในแฟ้มข้อมูล เพื่อช่วยค้นหาได้รวดเร็ว
  4. แฟ้มข้อมูลเก่า (Historical File) - ใช้อ้างอิงข้อมูลต่างๆ
  5. แฟ้มสรุปผล (Summary File) - สร้างมาจากแฟ้มข้อมูลอื่น โดยการรวบรวมหรือคำนวณข้อมูลต่างๆ เพื่อที่จะได้ไม่เสียเวลาทุกครั้งที่เรียกใช้งาน  
  6. แฟ้มงาน (Work File)
  7. แฟ้มรายงาน (Report File)ใช้นำเสนอข้อมูลในรูปแบบของรายงาน
  8. แฟ้มสำรอง (Backup File) - ป้องกันความเสียหายหรือข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นกับแฟ้มข้อมูลสำคัญ ๆ

โครงสร้างข้อมูลในระบบฐานข้อมูล

โครงสร้างของฐานข้อมูล มีไว้เพื่อค้นหาข้อมูล  ประมวลผลข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อง่ายต่อการนำเสนอและการจัดเก็บข้อมูล    โครงสร้างของฐานข้อมูลนั้นมีองค์ประกอบหลัก 5 อย่าง คือ
1)      ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลและประมวลผลข้อมูล ซึ่งอาจประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่หนึ่งเครื่องขึ้นไป
2)      ซอฟต์แวร์ (Program/Software) หมายถึง โปรแกรมที่ใช้ในระบบการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งมีการพัฒนาเพื่อใช้งานได้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จนถึงเครื่องเมนเฟรม
3)      ระบบ (Data) ต้องมีองค์ประกอบข้อมูลที่มีคุณสมบัติขึ้นพื้นฐาน 5 อย่าง คือ
3.1) มีความถูกต้อง
3.2) มีความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน
3.3) มีความสมบูรณ์ของข้อมูล
3.4) มีความชัดเจนและกะทัดรัด
3.5 ) สอดคล้องกับความต้องการ
4)      บุคลากร (People) มีความเกี่ยวข้องกับระบบอยู่ตลอดเวลา เป็นบุคลากรที่ทำหน้าที่ในการจัดการฐานข้อมูล
5)      กระบวนการทำงาน (Procedures)  เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ตั้งแต่การเปิดโปรแกรมขึ้นมาใช้งาน การนำเข้าข้อมูล การแก้ไขปรับปรุงข้อมูล การค้นหาข้อมูล และการแสดงผลการค้นหา

ลักษณะของข้อมูลในฐานข้อมูล

ลักษณะข้อมูลในฐานข้อมูล สามารถจำแนกได้ 9 รูปแบบ คือ
1. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (The Hierarchical Database Model)   มีลักษณะเป็นแผนภูมิต้นไม้ (Tree) ความสัมพันธ์เป็นแบบพ่อกับลูก (Parent/Child Relation) มีความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง  และ หนึ่งต่อกลุ่ม
2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย  (The Network Database Model)   มีลักษณะเป็นแผนภูมิต้นไม้เหมือนกัน แต่เป็นแบบซับซ้อน เพื่อรองรับความสัมพันธ์แบบ กลุ่มต่อกลุ่ม
3. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์  (The Relational Database Model)   ใช้แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลนั้นเป็นตารางซึ่งเก็บข้อมูลที่มีลักษณะเหมือนกันไว้
4. ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ  (The Object-Oriented  Database Model)   ใช้จัดเก็บทั้งข้อมูลและชุดคำสั่งไว้ด้วยกัน จึงสามารถใช้งานร่วมกันได้โดยอัตโนมัติ ทำให้ฐานข้อมูลชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการจัดเก็บและจัดการ แต่มีความยุ่งยากและซับซ้อนกว่า
5. ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ-สัมพันธ์(The Object-Relational  Database Model) ให้ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์สามารถเพิ่มคุณสมบัติของแบบจำลองเชิงวัตถุเข้าไปได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ในการออกแบบข้อมูลใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงระบบฐานข้อมูลเดิม สามารถสร้างชนิดข้อมูลที่กำหนดเองได้
6. คลังข้อมูล (Data Warehouse)   แหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ของทั้งองค์กร จะต้องมีการแบ่งส่วนการทำงานออกเป็นส่วนย่อยๆ ขึ้นอยู่กับหน้าที่การทำงาน  ในบางกรณีต้องทำสำเนาข้อมูลที่มีความจำเป็นต้องใช้งานของแต่ละส่วนมาจัดเก็บไว้ภายในส่วนการทำงานย่อยๆ เหล่านั้น
7. ฐานข้อมูลแบบหลายมิติ (Multidimensional Database)    การทำตารางให้เป็นแบบ หลายมิติ จะทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลทำได้ง่ายขึ้น ด้วยวิธีการ เฉือน (Slicing)” ลูกบาศก์ออกเป็นส่วน ๆ ตามที่ต้องการคำนวณเท่านั้น
8. ฐานข้อมูลบนเว็บ (Web Database)   การสร้าง Web Page ที่ผู้ใช้สามารถเลือกดูในสิ่งที่ต้องการได้ โดยการสร้างฐานข้อมูลไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการเว็บไซต์ที่ต้องการสร้างเป็นเว็บฐานข้อมูล เว็บไซต์ที่สร้างขึ้นโดยใช้เว็บฐานข้อมูล สามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
9. ฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database)  เป็นการกระจายการจัดเก็บข้อมูลไว้ในหลาย ๆ สถานที่ ฐานข้อมูลชนิดนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดใหญ่

โครงสร้างแฟ้มข้อมูล

 
การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลมีไว้เพื่อจัดเก็บข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลมีความสะดวกรวดเร็ว เหมาะสมกับความต้องการ แบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
1)       โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบลำดับ(Sequential File) ใช้งานได้ง่ายสุดเหมาะกับงานประมวลผลที่มีการอ่านข้อมูลต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆตามลำดับและปริมาณครั้งละมากๆ   โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบลำดับประกอบด้วยระเบียนที่จัดเรียงไปตามลำดับอย่างต่อเนื่องเมื่อจัดสร้างแฟ้มข้อมูลโดยจะบันทึกระเบียนเรียงตามลำดับการบันทึกระเบียนจะถูกเขียนต่อเนื่องไปตามลำดับ
2)       โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม(Direct/Random File) สามารถทำงานได้เร็ว  เพราะมีการเข้าถึงข้อมูลเรคคอร์ดแบบเร็วมาก  เพราะไม่ต้องเรียงลำดับข้อมูลก่อนเก็บลงไฟล์ 
3)       โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบลำดับตามดัชนี (Index Sequential File) ช่วยชี้และค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ สามารถทำงานได้ยืดหยุ่นกว่าวิธีอื่นๆโดยเฉพาะกับกรณีที่ข้อมูลในการประมวลผลมีจำนวนมากๆ
4)       โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบสัมพัทธ์ (relative file) สามารถเข้าถึงข้อมูลหรืออ่านระเบียนใด ๆ ได้โดยตรง ถูกจัดเก็บอยู่บนสื่อที่สามารถเข้าถึงได้โดยตรง